ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดจันดี
ตั้งอยู่ หมู่ 10 ตำบล หลักช้าง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80250 โทรศัพท์ 075-486-315
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
สภาพชุมชนโดยรวม
สภาพชุมชนเป็นชุมชนขนาดกลาง อยู่ใกล้ตลาดจึงเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนในท้องถิ่น มีการประกอบอาชีพหลากหลาย แต่มีอาชีพการทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก บางส่วนประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้างทำงานในโรงงานยางพารา ประชากรบางส่วนเป็นประชากรที่ย้ายถิ่นฐานมาจากถิ่นอื่น เข้ามาเพื่อประกอบอาชีพและสร้างหลักปักฐานในพื้นที่ รายได้เฉลี่ยของประชากรในชุมชนประมาณ 3,000 บาท/เดือน ประชากรในชุมชนนับถือศาสนาพุทธ มีการปฏิบัติตามประเพณีของชาวพุทธ และประเพณีท้องถิ่น เขตพื้นที่บริการของโรงเรียนคือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 7 และ หมู่ที่ 10 ตำบลหลักช้าง อำเภอช้างกลาง ชุมชนใกล้เคียง คือชุมชนเกาะค่างขาว ตำบลฉวาง, ชุมชนบ้านนาวา หมู่บ้านควนพลอง และเทศบาลตำบลจันดี ซึ่งเป็นชุมชนนอกเขตบริการนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนวัดจันดี ภารกิจของโรงเรียนวัดจันดีจึงมีหน้าที่สนองความต้องการของชุมชนในการจัดการศึกษาตามหลักสูตร โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง นอกจากนั้นยังได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระ การเรียนรู้ต่างๆ เนื่องจากในชุมชนมีแหล่งเรียนรู้และมีผู้ที่มีความสามารถในวิทยาการสาขาต่างๆ หลายท่าน เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ชุมชนได้มีส่วนร่วมทำให้เกิดการประสานความร่วมมือที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีการบวช ประเพณีสรงน้ำพ่อท่านคล้อย และประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุน้อย
ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
ผู้ปกครองนักเรียนร้อยละ 40 มีฐานะครอบครัวยากจน
ผู้ปกครองนักเรียนร้อยละ 95 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ผู้ปกครองนักเรียนร้อยละ 91 นับถือศาสนาพุทธ
ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน 3,000 บาท/ครอบครัว
ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
1. ปัจจัยด้านโครงสร้างและนโยบายขององค์กร
ด้านโอกาส | ด้านอุปสรรค |
1. โรงเรียนมีการปรับเปลี่ยนนโยบายตามความเหมาะสมของสถานการณ์ 2. โรงเรียนกำหนดนโยบายอย่างมีแบบแผนชัดเจน 3. โรงเรียนกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจไว้ชัดเจน จึงมีจุดมุ่งหมายในการดำเนินงาน | 1. บุคลากรบางส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย 2. โรงเรียนกำหนดผู้รับผิดชอบ แผนงานนโยบายไม่ต่อเนื่อง 3. งานบางอย่างปฏิบัติได้ยังไม่ตรงเป้าหมายและพันธกิจ |
2. ปัจจัยด้านผลผลิตและบริการ
ด้านโอกาส | ด้านอุปสรรค |
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยเฉลี่ย อยู่ในระดับสูง 2. โรงเรียนให้บริการอาหารกลางวันฟรีแก่ นักเรียนที่ขาดแคลน 3. โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4. ให้บริการผู้ปกครองอย่างรวดเร็ว 5. ให้บริการด้านอาคารสถานที่แก่ชุมชนอย่างทั่วถึง 6. ให้บริการอุปกรณ์ เครื่องใช้ แก่ชุมชนอย่างทั่วถึง 7. ให้บริการประชาสัมพันธ์ ด้านข่าวสารแก่ชุมชน | 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังไม่เป็นที่น่าพอใจ 2. โรงเรียนยังให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรม ของชุมชนเท่าที่ควร 3.การประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักเรียน ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 4. การประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการยังไม่ทั่วถึง 5. นักเรียนบางส่วนไม่ได้ทำประกันอุบัติเหตุ 6. ห้องสมุดมีหนังสือค้นคว้าอ้างอิงไม่เพียงพอ 7. การบริการอาหารกลางวันไม่เพียงพอกับ จำนวนนักเรียนที่ขาดแคลน 8. การบริการด้านความสะดวกสะอาดของ โรงอาหารยังไม่ดีเท่าที่ควร 9. การบริการอาหารกลางวันของแม่ค้ายังไม่ถูก สุขลักษณะเท่าที่ควรและบางครั้งไม่เพียงพอ 10. มีจุดบริการน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดและถูก สุขลักษณะไม่ทั่วถึงทุกอาคาร |
3. ปัจจัยด้านบุคลากร
ด้านโอกาส | ด้านอุปสรรค |
1. บุคลากรมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน 2. บุคลากรอยู่ในวัยทำงาน มีสุขภาพจิตดี 3. บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู 4. ผู้บริหารและบุคลากรจบการศึกษาขั้นต่ำระดับ ปริญญาตรี 5.บุคลากรในองค์กรมีความรัก ความสามัคคีกัน 6. บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิรูป การศึกษา 7. บุคลากรมีความเข้าใจระเบียบปฏิบัติทางราชการ 8. บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง | 1. บุคลากรสอนไม่ตรงตามสาขาวิชาเอกที่จบมา 2. บุคลากรทำงานหลายหน้าที่ 3. บุคลากรขาดขวัญ/กำลังใจ |
4. ปัจจัยด้านการเงิน
ด้านโอกาส | ด้านอุปสรรค |
1. โรงเรียนมีรายได้นอกงบประมาณจากการให้ แม่ค้าประมูลขายอาหาร ทำให้มีงบประมาณ ในการบริหารจัดการคล่องตัว | 1. ไม่ได้ใช้งบประมาณตามแผนที่กำหนดไว้ 2. การจัดสรรงบประมาณล่าช้า 3. การวางแผนงบประมาณการใช้จ่ายประจำปี ขาดการวางแผนร่วมกันกับทุกฝ่ายงาน |
5. ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ
ด้านโอกาส | ด้านอุปสรรค |
1. โรงเรียนมีเป้าหมาย แผนงานและโครงการที่ ชัดเจนในการดำเนินงาน 2. มีการประชุมวางแผนการปฏิบัติงานอย่าง เป็นระบบ 3. มีการติดต่อและประสานงานกับชุมชนและ หน่วยงานต่างๆ ได้สะดวกเพราะโรงเรียนเป็น ที่ตั้งศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 20 4. โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของชุมชน | 1. การประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ข่าวสาร ยังไม่ดีเท่าที่ควร 2. การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศยังไม่เป็นระบบ 3. การประเมินผลและสรุปผลการปฏิบัติงานยังขาดการต่อเนื่องและเป็นระบบ |
6. ปัจจัยด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่
ด้านโอกาส | ด้านอุปสรรค |
1. มีจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนได้เอื้อต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2. มีห้องเรียนเพียงพอสำหรับการจัดชั้นเรียน 3. มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกให้ แก่นักเรียนใช้พอสมควร 4.. โรงเรียนมีห้องปฏิบัติการพิเศษ เช่น ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ 5. โรงเรียนให้บริการวัสดุอุปกรณ์และอาคาร สถานที่แก่ชุมชน 7. โรงเรียนจัดที่รอรับ-ส่งนักเรียนอย่างเป็นระบบ | 1. สถานที่รงเรียนแออัด ขาดสนามกีฬา 2. โรงเรียนมีงบประมาณซ่อมบำรุงอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์จำกัดไม่เพียงพอ |
ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
1. ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม
ด้านโอกาส | ด้านอุปสรรค |
1. ชุมชนยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี ท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย 2. ชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษาและ ให้การสนับสนุนในการจัดการศึกษา 3.ประชากรในชุมชนส่วนใหญ่มีสุขภาพดี 4. ประชากรในชุมชนอยู่ในวัยทำงาน | 1. จำนวนเด็กในเขตบริการมีจำนวนลดลง ทำให้จำนวนนักเรียนลดลง 2. ชุมชนตั้งอยู่ในแหล่งสถานเริงรมย์ มีความ เสี่ยงต่ออบายมุข 3.ประชาการในชุมชนมีการเคลื่อนย้ายบ่อย 4. ชุมชนให้ความสำคัญต่อสถาบันครอบครัว ค่อนข้างน้อย |
2. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
ด้านโอกาส | ด้านอุปสรรค |
1. ชุมชนใช้เทคโนโลยีในการติดต่อข่าวสารและ การคมนาคมได้อย่างรวดเร็วและทันสมัย 2. ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. ชุมชนได้รับการสนับสนุนในการใช้เทคโนโลยี | 1. ชุมชนขาดการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. ชุมชนไม่ได้รับการสนับสนุนจากภูมิปัญญา 3. ชุมชนขาดการวิเคราะห์ในการใช้เทคโนโลยี |
3. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
ด้านโอกาส | ด้านอุปสรรค |
1. ชุมชนมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ 2. ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน | 1. ชุมชนมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ 2. ชุมชนมีรายได้ค่อนข้างต่ำ ประกอบอาชีพ รับจ้างเป็นส่วนใหญ่ |
4. ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย
ด้านโอกาส | ด้านอุปสรรค |
1. คณะกรรมการสถานศึกษาและบุคคลภายนอก มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการใช้สิทธิในการบริหาร ระดับท้องถิ่น 3. ชุมชนมีความรู้พื้นฐาน ทางด้านกฎหมายมากขึ้น | 1. ชุมชนยึดติดตัวบุคคลมากเกินไป 2. การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ (การปกครองส่วนท้องถิ่น) ยังให้การสนับสนุน ด้านการศึกษาเท่าที่ควร 3. ชุมชนยังเข้าใจบทบาทในการมีส่วนร่วม ไม่เพียงพอ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น